วันศุกร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความรับผิดชอบของกรรมการบริษัทในการต่อต้านคอร์รัปชั่น (The Responsibility of Company Director in Fighting Corruption)

จากบทความในวารสาร Boardroom Vol.25 Issue 6/2012 ฉบับเดือน Nov - Dec กล่าวถึง งานประชุม Thailand 3rd National Conference on Collective Action Against Corruption ประจำปี 2555 ซึ่งจัดโดย IOD ร่วมกับ Center for International Private Enterprise (CIPE) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย British Embassy Bangkok และองค์กรแนวร่วมชั้นนำ เช่น บางจากปิโตเรียม บ้านปู ปตท. ปูนซีเมนต์ไทย ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ภายใต้แนวคิด The Responsibility of Company Director in Fighting Corruption

ในการประชุมครั้งนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในการต่อสู้กับคอร์รัปชั่นทั้งในระดับประทศเช่น ดร.ภักดี โพธิศิริ กรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ปาฐกถาพิเศษ ชื่นชมแนวร่วมปฏิบัติ และ IOD ที่ร่วมกันจัดงานต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อมุ่งเน้นการการพัฒนาตามหลักการกำกับดูแลกิจการของภาคเอกชน เพื่อป้องกันปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น ทั้งในส่วนของภาคเอกชนและส่วนที่เกี่ยวข้องกับรัฐ และกล่าวถึงบทบาทของ ป.ป.ช. ที่ผ่านมาว่าได้จัดแผนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามทุจริต ตั้งแต่ ปี 2551 ที่มีกลไกในการขับเคลื่อนสำคัญ คือ ภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ตลอดจนกลไกศาสนาและการศึกษา

คุณหญิงชฎา วัฒนะศิริธรรม กล่าวว่าประเทศที่คอร์รัปชั่นในภาคเอกชนที่น้อยที่สุดในกลุ่มประเทศ APEC คือ สิงคโปร์ ส่วนประเทศไทยคอร์รัปชั่นสูงเป็นอันดับ 2 ดร.บัณฑิต นิจถาวร กล่าวถึงสถานการณ์ตอร์รัปชั่นของประเทศไทยว่า มี 3 ประเด็น คือ 1) คอร์รัปชั่นของประเทศลดลงได้จากความร่วมมือของ ภาครัฐ โดย ป.ป.ช. ประกาศใช้นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น ภาคมหาชนโดยความร่วมมือของเครือข่ายองค์กร 42 แห่ง และภาคเอกชน โดยบริษัทมหาชนเข้าอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี แ ะแสดงเจตนารมย์เข้าร่วมปฏิบัติภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต (CAC) 2) การร่วมมืออย่างบูรณาการควรทำอย่างไร โดยในระยะสั้นอาจทำเป็นโครงการ ในระยะยาวควรทำเป็นธรรมเนียมปฏิบัติส่วนเรื่องการบังคับใช้นั้น ว่าจะเป็นแบบ Principle based approach หรือ Commitment approach 3) การเข้าร่วมเป็นสมาชิก CAC ซึ่งเริมตั้งแต่ปี 2010 เป็นการให้ความรู้และสร้างระบบในการต่อต้านคอร์รัปชั่น

ในระดับสากลมีผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น Ms. Jean Rogers, Deputy Director, CIPE, Mr.Shabih Al Mohib กล่าวถึงการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่อต้านคอร์รัปชั่นมากขึ้น Mr.Sherin Majilessi รับผิดชอบโครงการของสหประชาชาติในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นทั่วโลก กล่าวว่าปัญหาทุจริตของธุรกิจ SMEs เป็นปัญหารหลักของประเทศกำลังพัฒนาเช่น บราซิล อินเดีย จอร์แดน Ms. christine Uriate กล่าวว่า OECD ได้จัดตั้งองค์กรชื่อ OECD Anti Bribery Convention เป็นองค์กรเพื่อลดปัญหาคอร์รัปชั่น กล่าวว่าสาเหตุของปัญหาคอร์รัปชั่นมาจาก บริษัทและกลุ่มพนักงานที่ยอมรับข้อเสนอเพื่อประโยชน์ส่วนตน และในประเทศ OECD ก็ยังมีปัญหาคอร์รัปชั่นอยู่ด้วย Associate Professor Wu Xun กล่าวถึงเรื่องการปกป้องสิทธิของผู้ถือหุ้นและมาตรฐานการบัญชีว่าเป็นปัจจัยสำคัญมากต่อการลดการเกิดคอร์รัปชั่นในประเทศ และพบว่าในประเทศที่กำลังพัฒนานั้น ผู้ตรวจสอบภายใน ผู้ตรวจสอบภายนอก คณะกรรมการตรวจสอบ และ คณะกรรมการบริษัท ทำหน้าที่สำคัญในการป้องกันปัญหาการติดสินบนในองค์กร Ms. Angela Garcia กล่าวว่าประเทศฟิลิปินส์ตัดอันดับตำมากในการควบคุมปัญหาทุจริต และประเทศฮ่องกง ติดอันดับที่ดีที่สุด ในกลุ่มเอเซียตะวันออก 10 ประเทศ

เอกอัคราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย H.E. mark kent กล่าวปิดการประชุม Thailand 3rd National Conference on Collective Action Against Corruption ในหัวข้อ "Tackling Corruption: The UK perspective" ว่าวิธีการจัดการปัญหาคอร์รัปชั่นเบื้องต้นของเอกชน ดังนี้ 1. องค์กรมีกระบวนการที่เพียงพอ 2. ผู้นำระดับสูงขององค์กรต้องมีส่วนร่วม 3. ดำเนินการตามตัวอย่างที่เห็นได้ชัด 4. ประเมินความเสี่ยง 5. หาคู่ค้าทางธุรกิจที่ดี 6. สื่อสารกับพนักงานเพื่อสร้างความตระหนักรู้ 7. ติดตามและประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการ ที่มา Boardroom Magazine, Vol.25 Issue 6/2012, Nov - Dec, IOD www.thai-iod.com

สองคนดีแห่งแผ่นดิน ดุสิต นนทนาคร ชาญชัย จารุวัสตร์

ผมได้อ่าน อนุมานวสาร สองคนดีแห่งแผ่นดิน ของ สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ และ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)ที่กล่าวยกย่องผู้ที่ทำการต่อต้านคอร์รัปชั่นภาคเอกชนของประเทศไทย 2 ท่านคือ คุณดุสิต นนทะนาคร และ คุนชาญชัย จารุวัสตร์ ทั้งคู่เป็นศิษย์เก่าของโรงเรียนวชิราวุวุธฯ ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ ก็อดนึกไม่ได้ว่าโรงเรียนที่สามารถผลิตบุคลากรทั้งดีและเก่งอย่างนี้น่าจะมีจำนวนมากๆ เพื่อช่วยกันพัฒนาประเทศไทยของเราให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น อ่านแล้วทำให้ทราบว่าทั้งสองท่านเป็นหัวเรือใหญ่ในภาคเอกชนในการรณรงค์ต่อแต้านคอร์รัปชั่น

คุณดุสิต นนทะนาคร เป็นเคยทำงานให้กับ บริษัทปูนซีเมนต์ไทย และเป็นกรรมการบริษัทหลายแห่ง และเป็นประธานสภาหอการค้าไทย ทั้งคุณชาญชัยและ คุณดุสิต เป็นผู้ก่อตั้ง แนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต โดยมี IOD และ หอการค้าแห่งประเทศไทยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงหลัก ก่อนจะได้แนวร่วมเช่น หอการค้าต่างชาติ สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย สมาคมธนาคารไทย สภาธุรกิจตลาดทุน และ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย นอกจากนี้ยังได้ Center for International Private enterprise (CIPE) หรือ ศูนย์เพื่อธุรกิจเอกชนนานาชาติ มาเป็นผู้สนับสนุนด้านเงินทุน นานาชาติ มาเป็นผู้สนันสนุนเงินทุน

คุณชาญชัย จารุวัสตร์ ท่านเป็นกรรมการอำนวยการของสถาบันที่ชื่อว่า สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย หรือ IOD คนแรกและทำต่อเนื่องจนวาระสุดท้ายของชีวิต ด้วยบุคลิกที่เป็นคนสุภาพ ท่านได้เชิญคนดีมีความสามารถมาช่วยงานที่สถาบัน IOD จำนวนมาก ทำให้งานของสถาบันเป็นหลักในการให้ความรู้ในหลักธรรมาภิบาลที่ดีแก่กรรมการบริษัทของประเทศไทย ปัจจุบันมีกรรมการบริษัทผ่านหลักสูตรหลักคือ Director Certification Program หรือ DCP จำนวน 169 รุ่นในปี 2555 จากประสบการณ์ทั้งสองท่าน พบว่า ถ้าจะทำงานใหญ่ แนวร่วมเป็นเริ่มที่ต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับแรก

ที่มา อนุมานวสาร สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ และ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD)

Thailand 3rd National Conference on Collective Action Against Corruption

บทความในวารสาร Boardroom Vol.25 Issue 6/2012 ฉบับเดือน Nov - Dec กล่าวถึง งานประชุม Thailand 3rd National Conference on Collective Action Against Corruption ประจำปี 2555 ซึ่งจัดโดย IOD ร่วมกับ Center for International Private Enterprise (CIPE) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย British Embassy Bangkok และองค์กรแนวร่วมชั้นนำ เช่น บางจากปิโตเรียม บ้านปู ปตท. ปูนซีเมนต์ไทย ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ภายใต้แนวคิด The Responsibility of Company Director in Fighting Corruption

ในการประชุมครั้งนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์ในการต่อสู้กับคอร์รัปชั่นทั้งในระดับประทศเช่น ดร.ภักดี โพธิศิริ กรรมการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ปาฐกถาพิเศษ ชื่นชมแนวร่วมปฏิบัติ และ IOD ที่ร่วมกันจัดงานต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เพื่อมุ่งเน้นการการพัฒนาตามหลักการกำกับดูแลกิจการของภาคเอกชน เพื่อป้องกันปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น ทั้งในส่วนของภาคเอกชนและส่วนที่เกี่ยวข้องกับรัฐ และกล่าวถึงบทบาทของ ป.ป.ช. ที่ผ่านมาว่าได้จัดแผนยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามทุจริต ตั้งแต่ ปี 2551 ที่มีกลไกในการขับเคลื่อนสำคัญ คือ ภาครัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม ตลอดจนกลไกศาสนาและการศึกษา คุณหญิงชฎา วัฒนะศิริธรรม กล่าวว่าประเทศที่คอร์รัปชั่นในภาคเอกชนที่น้อยที่สุดในกลุ่มประเทศ APEC คือ สิงคโปร์ ส่วนประเทศไทยคอร์รัปชั่นสูงเป็นอันดับ 2

ดร.บัณฑิต นิจฐาวร กล่าวถึงสถานการณ์ตอร์รัปชั่นของประเทศไทยว่า มี 3 ประเด็น คือ 1) คอร์รัปชั่นของประเทศลดลงได้จากความร่วมมือของ ภาครัฐ โดย ป.ป.ช. ประกาศใช้นโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่น ภาคมหาชนโดยความร่วมมือของเครือข่ายองค์กร 42 แห่ง และภาคเอกชน โดยบริษัทมหาชนเข้าอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี แ ะแสดงเจตนารมย์เข้าร่วมปฏิบัติภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต (CAC) 2) การร่วมมืออย่างบูรณาการควรทำอย่างไร โดยในระยะสั้นอาจทำเป็นโครงการ ในระยะยาวควรทำเป็นธรรมเนียมปฏิบัติส่วนเรื่องการบังคับใช้นั้น ว่าจะเป็นแบบ Principle based approach หรือ Commitment approach 3) การเข้าร่วมเป็นสมาชิก CAC ซึ่งเริมตั้งแต่ปี 2010 เป็นการให้ความรู้และสร้างระบบในการต่อต้านคอร์รัปชั่น

ในระดับสากลมีผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น Ms. Jean Rogers, Deputy Director, CIPE, Mr.Shabih Al Mohib กล่าวถึงการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่อต้านคอร์รัปชั่นมากขึ้น Mr.Sherin Majilessi รับผิดชอบโครงการของสหประชาชาติในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่นทั่วโลก กล่าวว่าปัญหาทุจริตของธุรกิจ SMEs เป็นปัญหารหลักของประเทศกำลังพัฒนาเช่น บราซิล อินเดีย จอร์แดน Ms. christine Uriate กล่าวว่า OECD ได้จัดตั้งองค์กรชื่อ OECD Anti Bribery Convention เป็นองค์กรเพื่อลดปัญหาคอร์รัปชั่น กล่าวว่าสาเหตุของปัญหาคอร์รัปชั่นมาจาก บริษัทและกลุ่มพนักงานที่ยอมรับข้อเสนอเพื่อประโยชน์ส่วนตน และในประเทศ OECD ก็ยังมีปัญหาคอร์รัปชั่นอยู่ด้วย Associate Professor Wu Xun กล่าวถึงเรื่องการปกป้องสิทธิของผู้ถือหุ้นและมาตรฐานการบัญชีว่าเป็นปัจจัยสำคัญมากต่อการลดการเกิดคอร์รัปชั่นในประเทศ และพบว่าในประเทศที่กำลังพัฒนานั้น ผู้ตรวจสอบภายใน ผู้ตรวจสอบภายนอก คณะกรรมการตรวจสอบ และ คณะกรรมการบริษัท ทำหน้าที่สำคัญในการป้องกันปัญหาการติดสินบนในองค์กร Ms. Angela Garcia กล่าวว่าประเทศฟิลิปินส์ตัดอันดับตำมากในการควบคุมปัญหาทุจริต และประเทศฮ่องกง ติดอันดับที่ดีที่สุด ในกลุ่มเอเซียตะวันออก 10 ประเทศ

เอกอัคราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย H.E. mark kent กล่าวปิดการประชุม Thailand 3rd National Conference on Collective Action Against Corruption ในหัวข้อ "Tackling Corruption: The UK perspective" ว่าวิธีการจัดการปัญหาคอร์รัปชั่นเบื้องต้นของเอกชน ดังนี้ 1. องค์กรมีกระบวนการที่เพียงพอ 2. ผู้นำระดับสูงขององค์กรต้องมีส่วนร่วม 3. ดำเนินการตามตัวอย่างที่เห็นได้ชัด 4. ประเมินความเสี่ยง 5. หาคู่ค้าทางธุรกิจที่ดี 6. สื่อสารกับพนักงานเพื่อสร้างความตระหนักรู้ 7. ติดตามและประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการ

ที่มา Boardroom Magazine, Vol.25 Issue 6/2012, Nov - Dec, IOD www.thai-iod.com