คำว่า Fiduciary มาจากคำว่า fides เป็นภาษา Latin แปลว่า ความซื่อสัตย์สุจริต (faith), ความไว้วางใจ (trust)
คำว่า fiduciary duty หมายถึง หน้าที่ของบุคคลที่ได้รับความไว้วางใจจากเจ้าของทรัพย์สินให้ทำหน้าที่แทน ในการดูแลทรัพย์สิน http://en.wikipedia.org/wiki/Fiduciary
เราเรียกผู้ที่ทำหน้าที่จัดการทรัพย์สินเพื่อผู้อื่นว่า Trustee เมื่อนำเอาหลักการนี้มาใช้กับบริษัท กรรมการบริษัทคือ Trustee ซึ่งมีอำนาจหน่าที่ในการจัดการทรัพย์สินของบริษัท โดยเป็นการจัดการเพื่อประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ดังนั้นในการทำหน้าที่นี้ ท่านจึงควรจะใช้ความระมัดระวัง และความซื่อสัตย์สุจริตให้สมกับความเป็นเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจให้จัดการทรัพย์สินของบริษัทแทนผู้ถือหุ้น
พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนฯ กำหนดว่ากรรมการต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และระมัดระวัง ปัญหาทางปฏิบัติ ก็คือว่า กรรมการต้องทำหน้าที่แค่ไหน จึงจะเรียกได้ว่าเพียงพอแล้ว และทำให้กรรมการพ้นจากการต้องรับผิด
การที่กฎหมายต้องใช้คำกว้างๆ ก็เป็นเพราะ การทำหน้าที่กรรมการต้องใช้ดุลยพินิจอญู่ตลอดเวลา หลายเรื่องบอกไม่ได้ว่าผิดหรือถูก หากกรรมการต้องรับผิดชอบส่วนตัวไปทั้งหมด ก็ย่อมจะหาคนที่มีความรู้ความสามารถเป็นกรรมการได้ยาก ดังนั้นกฎหมายจึงต้องให้ความคุ้มครองกรรมการที่ได้ทำหน้าที่โดยชอบแล้ว ไม่ให้ต้องรับผิดชอบโดยส่วนตัวอีก ไม่ว่าผลของการตัดสินใจนั้นจะออกมาเป็นอย่างไร
แม้ว่ากฎหมายไทยจะยังมิได้วางแนวทางพิจาณาเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจน แต่หลักการของเรา ก็มิได้แตกต่างจากหลักการกฎหมายประเทศอื่นๆ แต่อย่างใด ดังนั้น ถ้าท่านได้ทำตามแนวทางที่วางกันไว้แล้วดังนี้ ท่านก็อาจจะสบายใจได้ระดับหนึ่งว่า ท่านไม่น่าจะต้องรับผิดชอบส่วนตัวอีก
- กระทำที่เห็นโดยสุจริต (in good faith) ว่าเป็นไปเพื่อประโยชน์สูงสุด (best interest) ของบริษัท
- การตัดสินใจนั้นได้กระทำอย่างระมัดระวัง และ
- การตัดสินใจนั้นได้กระทำอย่างซื่อสัตย์สุจริตและปราศจากความขัดแย้งทางผลประโยชน์ส่วนตัว
ตามพรบ. บริษัทมหาชน ฯ กำหนดว่า กรรมการต้องปฏิบัติด้วย 1) หลักการระมัดระวัง 2) หลักการซื่อสัตย์สุจริต
หลักการระมัดระวัง (Duty of care)
1) ทำโดยสมเหตุสมผลเยี่ยงกรรมการที่อยู่ภายใต้สถารการณ์เช่นนั้น จะพึงกระทำ
2) ทำโดยมีข้อมูลอย่างเพียงพอ (informed basis) และ
3) ไม่มีเหตุผลที่น่าสงสัยว่าข้อมูลนั้นจะไม่น่าเชื่อถือ
ดังนั้น เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเอง ในการประชุมคณกรรมการทุกครั้ง ท่านจึงควรดูแลให้ท่านมีเอกสารและข้อมูลที่จะต้องใช้ประกอบตัดสินใจอย่างเพียงพอ และน่าเชื่อถือ โดยท่านควรจะใช้สิทธิซักถามในที่ประชุมคณะกรรมการ จนท่านสามารถตอบคำถามได้ภายหลัง ก่อนที่จะอนุมัติรายการใดๆ นอกจากนี้ หลังจากการประชุมทุกครั้ง ท่านควรดูให้แน่ใจด้วยว่าได้มีการบันทึกรายงานประชุม โดยระบุความเห็นและเหตุผลประกอบการตัดสินใจอย่างครบถ้วน เพื่อที่ท่านจะได้สามารถใช้เป็นหลักฐานในการพิสูจน์การกระทำหน้าที่ของท่นอย่างครบถ้วน เพื่อที่ท่านจะสามารถใช้เป็นหลักฐานในการพิสูจน์การกระทำหน้าที่ของท่านได้หากจำเป็น
อนึ่ง มีผู้ให้ข้อสังเกตุว่า ในการตัดสินใจทางธุรกิจ หลายกรณีต้องทำไป แม้ว่าจะมีข้อมูลไม่ครบถ้วน กรณีเช่นนี้กรรมการต้องรับผิดชอบหรือไม่ เรื่องนี้มีผู้แนะนำว่า ให้ดูสถานการณ์ เพราะบางครั้ง การไม่ตัดสินใจก็อาจทำให้บริษัทเสียหายเหมือนกับหรือมากกว่าการตัดสินใจด้วยซ้ำ ดังนั้น ท่านต้องหลักการทั้ง 3 ข้อ ข้างต้นประกอบกัน และเลือกตัดสินใจในทางที่เห็นว่าเดีที่สุดสำหรับสถานการณืนั้นๆ อย่างไรก็ดี หากเป็นกรณีไม่เร่งด่วน และท่านยังรู้สึกไม่สบายใจ ท่านย่อมมีสิทธิที่จะซักถาม หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมและอาจจะขอให้เลื่อการตัดสินใจออกไปก็ได้
หลักความซื่อสัตย์สุจริต (Duty of Loyalty)
หมายถึง การกระทำต่อไปนี้
- กระทำโดยมีจุดมุ่งหมายโดยชอบ (Proper purpose)
- การตัดสินใจโดยไม่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of interest)
- การไม่นำข้อมูล หรือโอกาสของบริษัทไปใช้ เพื่อประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น
ตัวอย่างการกระทำที่อาจจะทำให้กรรมการเข้าข่ายไม่รักษาหน้าที่ เช่น
1) การซ้อขายสินค้ากับริษัทที่กรมการมีส่วนได้เสีย โดยกำหนดเงื่อไขที่เอื้อประโยชน์ให้เป็นพิเศษ ซึ่งไม่ใช่วิสัยปกติที่จะกระทำ หากคู่ค้านั้นเป็นบุคคลอื่น
2) การนำเงินของบริษัทซึ่งเป็นของผู้ถือหุ้นทุกรายร่วมกันไปให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทในกลุ่มของกรรมการ โดยเฉพาะเมื่อบริษัทมิได้ประกอบธุรกิจสถาบันการเงินและเห็นได้ว่า การให้กู้ยืมมีความเสี่ยงที่จะได้รับชำระคืนสูง หรือมิได้มีการวิเคราะห์ความเสี่ยงของการให้กูยืมเลย หรือเมื่อให้กู้แล้ว ทำให้บริษัทประสบปัญหาทางการเงิน
3) การซื้อทรัพย์สินจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับคณะกรรมการ โดยบริษัทไม่เห็นศักยภาพ หรือไม่มีความจำเป็นที่จะใช้ทรัพย์สินนั้น
4) การนำความรู้ ข้อมูล หรือโอกาสที่ได้จากการเป็นกรรมการบริษัท ไปใช้ประกอบธุรกิจส่วนตัว เพื่อแข่งขันกับบริษัท เป็นต้น
นอกจากกรรมการต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วย หลักการระมัดระวัง (Duty of care) และ หลักการซื่อสัตย์สุจริต (Duty of Loyalty) แล้ว สถาบัน IOD (Thai Institute of Directors)ได้กำหนดเพิ่ม อีกสองข้อว่า กรรมการต้องปฏิบัติตาม หลักการของกฎหมาย ข้อบังคับของบริษัท (Obedience) และ ต้องปฏิบัติตาม หลักการเปิดเผยข้อมูล (Disclosure)
ที่มา: 1) คู่มือกรรมการบริษัทจดทะเบียน สำนักงานคณะกรรมการการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 2547
2) Thai Institute of Directors, 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น